ลักษณะนิสัยของนางในวรรณคดีบทละคร
นางในวรรณคดีบทละครทั้ง 6 เรื่อง คือ นางบุษบา นางรจนา นางสุวิญชา นางยอพระกลิ่น นางตะเภาแก้ว ตะเภาทอง และนางจันท์สุดา ซึ่งสามารถวิเคราะห์ลักษณะนิสัยดังนี้
นางบุษบา
ลักษณะนิสัย
1. บุษบาเป็นหญิงที่มาแบบฉบับของลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพ่อแม่ แม้ว่านางจะไม่พอใจ ในรูปร่างของจรกาแต่นางก็ยอมที่จะไม่ทำตามใจตนเองเพื่อรักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล
2. เป็นคนไม่เจ้ายศเจ้าอย่างหรือถือว่าตนสูงศักดิ์กว่านางจินตะหรา เห็นได้จากตอนที่ จินตะหราได้ให้นางสการะวาตีและนางมาหยารัศมีมาเฝ้า บุษบาก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี
3. เป็นคนไม่เหลาะแหละ รู้จักโต้เถียงแสดงความฉลาดรู้ทันอิเหนาและรักษาเกียรติของตนเองไม่ยอม หลงเชื่ออย่างง่าย ๆ ในตอนที่อิเหนาพูดว่า
“อันนางจินตะหราวาตี ใช่พี่จะมุ่งมาดปรารถนา
หากเขาก่อก่อนอ่อนมา ใจพี่พาลาก็งวยงง……”
(บทละครเรื่องอิเหนา
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
จากที่อิเหนาพูดนี้ก็ทำให้นางบุษบารู้ว่าอิเหนาเจรจาเข้าข้างตัวเอง นางก็โต้ตอบว่าอย่ามาแกล้งพูดเลยว่าจะไม่เลี้ยงนางจินตะหราวาตี เพราะมีลายลักษณ์อักษรและใคร ๆ ก็รู้กันทั่วว่าอิเหนาไม่ต้องการนาง นางจึงโต้ตอบเมื่ออิเหนาแก้ตัวว่าที่ลักนางมาก็ด้วยความรักว่า
“จะให้เชื่อพจมานหวานถ้อย จะได้ไปเป็นน้อยชาวหมันหยา
เขาจะเชิดชื่อฤาชา ว่ารักสามีท่านกว่าความอาย
อันความอัปยศอดสู จะติดตัวชั่วอยู่ไม่รู้หาย
ร้อนใจอะไรเล่าเจ้าเป็นชาย ไม่เจ็บอายขายหน้าก็ว่าไป”
(บทละครเรื่องอิเหนา
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
และตอนที่นางบวชเป็นแอหนัง (ชี ) แล้วถูกปันหยีขโมยกริชไป นางก็คร่ำครวญต่อว่าพี่เลี้ยงด้วยความรักเกียรติสตรีว่า
“พี่แกล้งเป็นใจด้วยปันหยี เห็นคนอื่นดียิ่งกว่าข้า
ในถ้อยคำที่ร่ำพรรณนา ว่าแสนเสน่หาอิเหนานัก
เป็นไฉนจึงยกน้องให้ แก่ชาวไพร่ต่ำช้าบรรดาศักดิ์
กระนี้ฤาพี่เรียกว่ารัก พึ่งจะประจักษ์ในน้ำใจ
สู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย
ถึงมาตรแม้นชีวันจะบรรลัย จะตายในความซื่อสัตยา”
(บทละครเรื่องอิเหนา
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
4. เป็นคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองแม้ว่านางจะตกอยู่ในสภาพที่ถูกบังคับ โดยนางไม่ยอมทำตามผู้ใหญ่ ดังตอนที่ท้าวดาหามีดำรัสให้ขึ้นมาเข้าเฝ้าอิเหนานางรู้ว่าจะให้ไปไหว้จึงเข้าไปนอนด้วยความเคืองไม่เข้าเฝ้าตามรับสั่งจนเดือดร้อนถึงมะเดหวีต้องมาจัดการแต่นางก็ไม่ออกมาโดยดี ๆ ต้องผลักไสกัน
5. มีความซื่อสัตย์ ได้รักษาตัวไว้รอคอยอิเหนา ดังกลอนว่า
“ถึงมาตรสู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย
แม้นชีวันจะบรรลัย จะตายในความซื่อสัตยา”
(บทละครเรื่องอิเหนา
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
6. ไม่มีจริตแง่งอน เมื่ออิเหนาลักพานางไปไว้ในถ้ำก็ยินยอมแต่โดยดี
7. เมื่อเป็นชายคือ มิสาอุณากรรณก็ปฏิบัติตนกับระตูประมอตันอย่างบิดาของตน
8. มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น ระตูประมอตัน
9. มีความกล้าหาญจนมีระตูมาขอเป็นเมืองขึ้นหลายเมือง
10. ไม่มีความริษยาถือโกรธผู้ใด มีน้ำใจ เมื่อมารดาให้ไหว้นางจินตะหรา บุษบาก็ยอมตาม ดังที่นางกล่าวกับอิเหนาว่า
“แม้นน้องรักทักท้วงหวงหึง พระองค์จึงห้ำหั่นเกศา
เป็นถ้อยยำคำมั่นน้องสัญญา เชิญเสด็จเชษฐารีบคลาไคล”
(บทละครเรื่องอิเหนา
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
และนางยอมให้อิเหนายกจินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวาแต่โดยดีด้วยเห็นว่า นางจินตะหราเป็นผู้มาก่อนแม้ว่าจินตะหราจะไม่ใช่วงศ์เทวัญฯ
นางรจนา
ลักษณะนิสัย
รจนาเป็นกุลสตรี เป็นผู้หญิงที่เรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในกรอบประเพณีและเป็นแม่บ้านแม่เรือน เป็นหญิงที่มีความอดทนและมีการควบคุมภาวะทางอารมณ์ได้อย่างดียิ่งและเป็น ผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตัวของตังเองสูง โดยมีสติไม่ได้ตัดสินใจด้วยอารมณ์แต่ตัดสินใจด้วยเหตุผลที่ตนเองได้ไตร่ตรองแล้ว มีจิตใจที่เป็นอิสระ และมีความเข้มแข็ง จะเห็นได้จากการเลือกคู่ของนางในตอนแรกที่นางไม่เลือกใครเลย และมาครั้งที่สองก็ได้เลือกเจ้าเงาะในที่สุด การกระทำทั้งสองครั้งนี้เป็นสิ่งขัดแย่งกับความคิดความเข้าใจของคนอื่น แต่รจนาก็กล้าคิดกล้ากระทำด้วยความเชื่อมั่นว่าตนเองเป็นผู้ถูก และอดทนจนความจริงปรากฏ
หากเราจะมาพิจารณาเหตุผลที่รจนาเลือกเจ้าเงาะ จะพบว่า นอกจากความปลาบปลื้มใน รูปโฉมของพระสังข์แล้ว นางได้ครวญว่า
“แสนสมัครรักใคร่ใหลหลง ด้วยรูปทรงเป็นทองต้องจิต”
(บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
รจนายังเลือกเจ้าเงาะด้วยเหตุผลที่สงสัยว่าเป็น “บุญ” ของตนที่ได้เห็นสิ่งที่คนอื่นไม่เห็นด้วย สิ่งนี้น่าจะเป็นการท้าทายการตัดสินใจของรจนามากกว่า นางจึงไม่ได้ทิ้งพวงมาลัยไปสวมหัตถ์ผู้ที่เลือกเหมือนอย่างพี่นางทั้งหกคน แต่ใช้วิธีเสี่ยงพวงมาลัย คือก่อนที่ทิ้งพวงมาลัยนั้นได้ อธิฐานด้วยว่าหากพระสังข์และนางเป็นคู่ครองกันมาแต่ชาติปางก่อน ก็ขอให้มาลัยที่ทิ้งไปต้องตัวเจ้าเงาะรูปทอง ในตอนนั้นชายที่มาให้นางรจนาเลือกคู่นั้นมีเจ้าเงาะเพียงคนเดียว หากตกลงใจเลือกแล้วจะทิ้งพวงมาลัยไปอย่างไรก็ต้องถูกเจ้าเงาะ การเสี่ยงพวงมาลัยอธิฐานจึงเป็นการเพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจ การเลือกคู่ครองที่ผู้อื่นเห็นว่าไม่เหมาะสม เช่นนี้ ทำให้รจนาอยู่ในภาวะ น้ำท่วมปาก เพราะนางรู้ดีว่าอธิบายสิ่งที่นางเห็นอย่างไรก็จะไม่มีใครเชื่อ คนย่อมเชื่อในสิ่งที่เห็นกับตา อันได้แก่รูปโฉมภายนอกมากกว่าจะเชื่อสิ่งที่มองไม่เห็น อันได้แก่จิตใจ เจ้าเงาะจึงกล่าวกับรจนาว่า
“ซึ่งสวมรูปเงาะป่ามานี้ไซร้ หวังจะให้น้องคิดปริศนา”
(บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
ปริศนาที่ว่าคือ การใช้รูปเงาะเป็นสิ่งวัดน้ำใจ คนทั่งไปย่อมไม่ชอบสิ่งที่น่าเกลียดน่าชัง แต่คนที่มีปัญญามีเหตุผลย่อมสามารถมองทะลุรูปร่างภายนอกเข้าไปสัมผัส “ของแท้” ที่อยู่ภายในได้ เหมือนเช่นที่รจนามองเห็นรูปทองที่อยู่ในร่างเงาะ
ลักษณะนิสัยกล้าเสี่ยงกับสิ่งที่ท้าให้พิสูจน์ และต้องได้คำตอบจนหมดข้อสงสัยจึงจะคลายใจเช่นนี้เอง ทำให้นางรจนาไม่ได้เคลิบเคลิ้มไปกับการเกี้ยวพาราสี ถูกเนื้อต้องตัวของพระสังข์จนหมดใจ เหมือนตัวอย่างตัวละครหญิงบางคนในวรรณคดีไทยเรื่องอื่น ๆ ที่ร่วมประเวณีกับผู้ชายโดยที่ไม่ได้รู้จักมาก่อน เช่น นางรื่นนางโรยในลิลิตพระลอ นางอุษาในอนิรุทธิ์คำฉันท์และอุณรุท เป็นต้น รจนาไม่ยอมปลงใจกับพระสังข์จนกว่าจะได้รู้ว่ามีเทือกเถาเหล่ากออย่างไร เมื่อได้รู้ว่ามีชาติกำเนิดสูงเป็นกษัตริย์รจนาจึงหมดข้อสงสัย
ปริศนาที่ว่าคือ การใช้รูปเงาะเป็นสิ่งวัดน้ำใจ คนทั่งไปย่อมไม่ชอบสิ่งที่น่าเกลียดน่าชัง แต่คนที่มีปัญญามีเหตุผลย่อมสามารถมองทะลุรูปร่างภายนอกเข้าไปสัมผัส “ของแท้” ที่อยู่ภายในได้ เหมือนเช่นที่รจนามองเห็นรูปทองที่อยู่ในร่างเงาะ
ลักษณะนิสัยกล้าเสี่ยงกับสิ่งที่ท้าให้พิสูจน์ และต้องได้คำตอบจนหมดข้อสงสัยจึงจะคลายใจเช่นนี้เอง ทำให้นางรจนาไม่ได้เคลิบเคลิ้มไปกับการเกี้ยวพาราสี ถูกเนื้อต้องตัวของพระสังข์จนหมดใจ เหมือนตัวอย่างตัวละครหญิงบางคนในวรรณคดีไทยเรื่องอื่น ๆ ที่ร่วมประเวณีกับผู้ชายโดยที่ไม่ได้รู้จักมาก่อน เช่น นางรื่นนางโรยในลิลิตพระลอ นางอุษาในอนิรุทธิ์คำฉันท์และอุณรุท เป็นต้น รจนาไม่ยอมปลงใจกับพระสังข์จนกว่าจะได้รู้ว่ามีเทือกเถาเหล่ากออย่างไร เมื่อได้รู้ว่ามีชาติกำเนิดสูงเป็นกษัตริย์รจนาจึงหมดข้อสงสัย
ลักษณะนิสัยของรจนาอีกประการหนึ่งที่ไม่พบในตัวละครผู้หญิงในวรรณคดีไทยเรื่องอื่น ๆ คือเป็นผู้ที่มีอารมณ์ขัน ทั้งนี้การที่สังข์ทองเป็นบทละครนอกซึ่งมีจุดประสงค์และเสนอความสนุกสนานบันเทิงแก่ผู้ที่ดูละคร น่าจะเป็นปัจจัยของการสร้างตัวละครให้แสดงพฤติกรรมชวนหัวเราะ แต่โดยมากกวีมักจะสร้างลักษณะนิสัยเช่นนั้นกับตัวละครระดับรองมากกว่าตัวละครเอก และมักไม่สร้างตัวนางเอก ให้มีลักษณะชวนขัน รจนาเป็นตัวละครหญิงที่ต่างจากมาตรฐาน เพราะรจนาเป็นนางเอกที่มีอารมณ์ขันไม่แพ้เจ้าเงาะในตอนที่รจนาทำลายรูปเงาะเพราะต้องการให้คนอื่นเห็นพระสังข์รูปทองเหมือนอย่างที่ตนเห็น พระสังข์ตื่นมาเห็นเข้า กริ้วโกรธ และขัดขวางไว้ได้รจนายอมรับผิดและง้อขอโทษอย่างจริงจังว่าจะไม่ทำเช่นนั้นอีก แล้วจึงเข้าไปประจบเอาใจเจ้าเงาะ ดังกวีพรรณนาว่า
“ว่าพลางนางเข้าไปนวดฟั้น หลังไหล่ไหนคันจะช่วยเกา
ยื่นมือมาจี้ที่สีข้าง จะหย่าร้างกันจริงเจียวหรือเจ้า
เอนอิงพิงทับลงกับเพลา เคี้ยวประทานสักคำทำปะเลาะ
ยียวนชวนผัวให้หัวเราะ แสร้งเซาะสรวลสันต์จำนรรจา”
“ว่าพลางนางเข้าไปนวดฟั้น หลังไหล่ไหนคันจะช่วยเกา
ยื่นมือมาจี้ที่สีข้าง จะหย่าร้างกันจริงเจียวหรือเจ้า
เอนอิงพิงทับลงกับเพลา เคี้ยวประทานสักคำทำปะเลาะ
ยียวนชวนผัวให้หัวเราะ แสร้งเซาะสรวลสันต์จำนรรจา”
(บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) การเป็นภรรยาที่ดีของรจนา รจนานับว่าเป็นตัวละครหญิงที่ขยันทำกิจการงานในครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง ทั้ง ๆ ที่นางเป็นราชธิดา แต่เมื่อต้องถูกเนรเทศมาอยู่กับเจ้าเงาะ 2 คนที่กระท่อมปลายนา รจนาอดทนต่อความยากลำบากที่นางได้บอกว่า
“ไม่เคยเห็นเช่นนี้แต่เกิดมา …………………………”
“ไม่เคยเห็นเช่นนี้แต่เกิดมา …………………………”
(บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
และขยันเรียนรู้กิจการแม่บ้านแม่เรือนที่นางไม่เคยทำมาก่อน ดังที่นางรำพึงกับเจ้าเงาะว่า
“น้องนี้แต่กำเนิดเกิดมา จะหุงข้าวหุงปลาก็ไม่เคย”
“น้องนี้แต่กำเนิดเกิดมา จะหุงข้าวหุงปลาก็ไม่เคย”
(บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) แต่ในที่สุดรจนาได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากราชธิดามาเป็นเมียชาวบ้าน ทำงานอย่างขยันขันแข็งตามที่เจ้าเงาะสอน
รจนาก็เป็นชายาที่ดีที่น่าชื่นชมยกย่องความสามารถของสวามีว่า “น้อยหรือเพราะแจ้วเจื้อยเฉื่อยฉ่ำ” และ “สวดซ้ำอีกสักนิดยังใจ” นอกจากนี้ หน้าที่การปรนนิบัติสามี ตามที่กล่าวไว้ในวรรณคดีคำสอน คือ ปัดปูที่นอน นวดเฟ้น พัด ฯลฯ นางก็ปรนนิบัติโดยไม่ขาดตกบกพร่องรวมทั้งการจงรักภักดีอันเป็นคุณสมบัติของภรรยาในอุดมคติทั่งไป ดังที่นางรู้สึกว่าการที่ท้าวสามมนต์บัญชาให้เจ้าเงาะหาเนื้อหาปลาจำนวนมากไปถวายเป็นการ “คิดอ่านพาลฆ่าชีวาลัย” นางจึงประกาศยอมตายตามเจ้าเงาะด้วยอย่างเด็ดเดี่ยว ดังบทประพันธ์ที่ว่า
“ถ้าพระรูปทองน้องบรรลัย เมียจะตายเช้าไปมิได้พรั่น
จะให้เขาพิฆาตฟาดฟัน สู้ตายตามกันไปไม่คิดกลัว
ไม่ขออยู่ดูหน้าคนทั้งหลาย มิให้ชายอื่นต้องเป็นสองผัว
ว่าพลางทางทุ่มทอดตัว ตีอกชกหัวเข้ารำไร”
“ถ้าพระรูปทองน้องบรรลัย เมียจะตายเช้าไปมิได้พรั่น
จะให้เขาพิฆาตฟาดฟัน สู้ตายตามกันไปไม่คิดกลัว
ไม่ขออยู่ดูหน้าคนทั้งหลาย มิให้ชายอื่นต้องเป็นสองผัว
ว่าพลางทางทุ่มทอดตัว ตีอกชกหัวเข้ารำไร”
(บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
ลักษณะเด่นประการสุดท้ายคือ รจนามีนิสัยปากกล้าไม่กลัวใคร เป็นคนเจ้าคารม ดังตอนที่โต้เถียงกับพี่นางทั้งหกคน ที่ด่าว่าเรื่องเลือกเจ้าเงาะเป็นสามี รจนาโต้ตอบเหน็บแนมพี่เขยอย่างเจ็บแสบว่า
“รูปร่างน้อยน้อยอร่อยใจ จงกอดไว้เถิดคะอย่าละวาง”
ลักษณะเด่นประการสุดท้ายคือ รจนามีนิสัยปากกล้าไม่กลัวใคร เป็นคนเจ้าคารม ดังตอนที่โต้เถียงกับพี่นางทั้งหกคน ที่ด่าว่าเรื่องเลือกเจ้าเงาะเป็นสามี รจนาโต้ตอบเหน็บแนมพี่เขยอย่างเจ็บแสบว่า
“รูปร่างน้อยน้อยอร่อยใจ จงกอดไว้เถิดคะอย่าละวาง”
(บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
เมื่อทะเลาะกันหน้าที่นั่งตอนเข้าไปถวายปลา รจนาแสดงกิริยาหยาบคาย
เมื่อทะเลาะกันหน้าที่นั่งตอนเข้าไปถวายปลา รจนาแสดงกิริยาหยาบคาย
“ถ่มน้ำลายรดให้แล้วไคลคลา” ทำให้พระพี่นางทั้งหกโกรธแค้น ตามมาทะเลาะตบตีกันอึงคะนึง อย่างไรก็ตาม แม้รจนาจะปากกล้าไม่เกรงกลัวใครเช่นนี้ ก็ยังไม่เคยหยาบคายกับพระมารดา ดังนั้นอาจกล่าวว่า รจนาเป็นลูกที่กตัญญูต่อพ่อแม่ นางมิได้ขุ่นเคืองที่ถูกเนรเทศ กลับใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เมื่อพ่อแม่บ้านเมืองเดือดร้อน นางก็ช่วยเหลือเจรจาอ้อนวอนเจ้าเงาะให้ช่วยเหลือโดยไม่เกี่ยงงอนเลย รจนาจึงเป็นตัวละครหญิงที่รักษาคุณสมบัติของผู้หญิงในอุดมสติและยังมีอุปนิสัยเชื่อมั่นความคิดและการตัดสินใจของตนเอง ในกรณีที่จะคิดแตกต่างไปจากผู้อื่น
ความเคียดแค้น ในขณะเดียวกันหญิงสาวอย่างนางรจนาก็เป็นศัตรูที่น่ากลัว ด้วยนิสัยที่อาฆาตพยาบาทของนาง แม้แต่ที่พี่สาวสายเลือดเดียวกันก็สร้างความไม่พอใจให้ นางยังผูกใจเจ็บหาทางแก้แค้นเอาคืน ดังที่มีการบรรยายไว้ว่า
ความเคียดแค้น ในขณะเดียวกันหญิงสาวอย่างนางรจนาก็เป็นศัตรูที่น่ากลัว ด้วยนิสัยที่อาฆาตพยาบาทของนาง แม้แต่ที่พี่สาวสายเลือดเดียวกันก็สร้างความไม่พอใจให้ นางยังผูกใจเจ็บหาทางแก้แค้นเอาคืน ดังที่มีการบรรยายไว้ว่า
“รจนากลั้นยิ้มมิใคร่ได้
สรวงพลางทางว่าข้าขอบใจ
เมียมันจะได้ดูหน้ากัน
ช่างแก้แค้นแทนทำพอสาสม
ที่เมียมาค้าคารมเย้ยหยัน
วันนี้น้องจะตามจรจรัล
ไปดูจมูกมันให้เต็มตา”
สรวงพลางทางว่าข้าขอบใจ
เมียมันจะได้ดูหน้ากัน
ช่างแก้แค้นแทนทำพอสาสม
ที่เมียมาค้าคารมเย้ยหยัน
วันนี้น้องจะตามจรจรัล
ไปดูจมูกมันให้เต็มตา”
(บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
จะเห็นได้ว่า นางถูกพี่ทั้งหลายถาถางและด่าว่า นางยังผูกใจเจ็บหาทางแก้แค้น
จะเห็นได้ว่า นางถูกพี่ทั้งหลายถาถางและด่าว่า นางยังผูกใจเจ็บหาทางแก้แค้น
นางสุวิญชา
ลักษณะนิสัย
1. นางสุวิญชายอมรับในการตัดสินใจของบิดาในการขับนางออกจากเมือง เนื่องจากจระเข้ที่นางเลี้ยงไว้ดุร้ายออกกัดกินประชาชน
2. นางสุวิญชาเป็นหญิงที่ถือว่ามีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองสูง เพราะนางทำทุกอย่างเพื่อหยุดความดุร้ายของจระเข้ แม้กระทั่งยอมเอาตัวเองไปให้จระเข้กัดกิน
3. มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น ท้าวสิงหล
4. มีความจงรักภักดีต่อสามี แม้นางจะถูกพระไชยเชษฐ์ขับออกจากเมืองแต่นางก็ไม่ยอมให้ท้าวสิงหลยกทัพไปตีเมืองของพระไชยเชษฐ์
5. นางใจแข็งมาก แม้พระไชยเชษฐ์มาขอคืนดีกับนางนางก็ไม่ยอมใจอ่อน พระไชยเชษฐ์อ้อนวอนจนเป็นลมสลบไปนางก็ใจอ่อน
6. ไม่มีความริษยาถือโกรธผู้ใด มีน้ำใจ แม้จะถูกมเหสีของพระไชยเชษฐ์รังแกแต่นางก็ไม่คิดจะกลับไปแก้แค้น
7. นางมีความอดทน นางมีความอดทนต่อความอยากลำบาก เพราะถูกขับออกจากเมืองถึงสองครั้ง แต่นางก็ไม่ยอมท้อ ครั้นตอนที่ถูกพระไชยเชษฐ์ขับออกจากเมืองมีพระโอรสมาด้วยแต่นางก็เลี้ยงพระโอรสด้วยตนเองจนพระโอรสเติบโต
นางยอพระกลิ่น
ลัษณะนิสัย
1. นางยอพระกลิ่น เป็นแบบฉบับของหญิงที่ซื่อตรงจงรักภักดีต่อสามี
2. นางยอพระกลิ่นมีความเฉลียวฉลาด
3. นางมีความกล้าหาญที่จะลุกขึ้นสู้เพื่อความเป็นธรรมและพิสูจน์ความจริง ดังจะเห็นได้จากเมื่อนางปลอมเป็นพราหมณ์มารักษานางจันทรให้ปลอดภัยจาพิษงู แล้วได้ถามนางจันทร ถึงข่าวลือที่ว่า
ไหนว่ายอพระกลิ่นนั้นกินแมว จริงหรือเหมือนลือหรือไฉน
สับปลับก็จะกลับตายไป ลูกช่วยไม่ได้พระมารดา
(บทละครเรื่องนอกมณีพิชัย
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
ทำให้ท้าวพิชัยนุราชทราบความจริง
4. มีความเสียสละ นางยอมอยู่ในปล้องไม้ไผ่คนเดียวเพื่อให้บิดาและมารดาไม่เดือดร้อน
5. มีความอดทนและเข้มแข็งแม้จะถูกใส่ร้าย
นางตะเภาแก้ว ตะเภาทอง
ลักษณะนิสัย
1. นางตะเภาแก้ว ตะเภาทองเป็นหญิงที่มาเป็นแบบฉบับของลูกที่ดี เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่
2. นางเป็นกุลสตรี เป็นหญิงที่เรียบร้อยอ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในกรอบประเพณีและเป็นแม่บ้านแม่เรือน
3. มีความจงรักภักดีต่อสามี แม้ไกรทองนั้นจะเจ้าชู้
4. ขี้หึงหวง เมื่อรู้ว่าไกรทองพานางวิมาลามาอยู่ด้วย
5. ไม่มีความรอบคอบ ไม่คิดไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะทำอะไรลงไป
นางจันท์สุดา
ลักษณะนิสัย
1. นางจันท์สุดาถือได้ว่าเป็นหญิงที่มีความอดทนสูง เพราะบ้านเมืองของนางถูก นกอินทรียักษ์ทำลายและยังฆ่าบิดาและมารดาของนางอีก นางก็อดทนอยู่คนเดียวในกลองยักษ์ได้
2. เชื่อคำคำพูดของคนง่าย เมื่อนางถูกยายเฒ่าทัดประสาทพูดหวาดล้อม ยุยงเรื่องพระคาวีไม่ไว้ใจนาง นางจันท์สุดาก็หลงเชื่อ
3. มีจริตแง่งอน เมื่อนางถามความลับเกี่ยวกับพระขรรค์แล้วพระคาวีไม่ตอบ นางจึงทำเป็นโกรธขึ้งกระบึงกระบอน
……………….. …………………………….
…………………… อะไรนี่มาตรัสสกัดแสกง
นางรักน้องถามตามซื่อ ควรหรือมิบอกให้แจ้ง
เพราะพระทรงศักดิ์ไม่รักแรง ว่าพลางนางกันแสงโศกา
(บทละครนอกเรื่อคาวี พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)